บทความที่ได้รับความนิยม

15/1/54

แผนการสอนวิชาชีววิทยา

                          แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์                   วิชา   ชีววิทยา                  รหัสวิชา  40242
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4                              ภาคเรียนที่   2                               ปีการศึกษา  2553                                                                             
 หน่วยการเรียนที่  5   เรื่อง  ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่       เรื่อง  การย่อยอาหารของจุลินทรีย์             เวลา   2   ชั่วโมง
สอนวันที่  1  เดือน พฤศจิกายน พ.. 2553        ครูผู้สอน นางสาวอรพรรณ  บุญประเสริฐ  
.........................................................................................................................................................
  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดตัวชี้วัด                                                                    
       มาตรฐานการเรียนรู้    1.1-1   เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครง สร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความ รู้สื่อ สารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

       สืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต อธิบายและสรุปเกี่ยวกับกระบวนการทางชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานการเรียนรู้   8.8-1   ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหารู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
       ตั้งคำถามที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ หรือความสนใจ หรือจากประเด็นที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ที่สามารถทำการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้
สาระสำคัญ
         อาหารที่สิ่งมีชีวิตกินเข้าไปจะถูกย่อยให้มีโมเลกุลเล็กลงจนถึงขนาดที่เซลล์นำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้แบคทีเรียส่วนใหญ่ และราจะใช้วิธีปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ภายนอกเซลล์ แล้วจึงดูดซึมสารอาหารที่ได้จากการย่อยเข้าสู่เซลล์โพรโทซัวบางชนิด เช่น อะมีบาและพารามีเซียม มีการย่อยสารอาหารภายในเซลล์ โดยนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีฟาโกไซโทซิส, พิโนไซโทซิส และย่อยด้วยเอนไซม์ในไลโซโซม
เนื้อหา
                บทที่ 5  ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
                                5.1  อาหารและการย่อยอาหาร
                                                5.1.1  การย่อยอาหารของจุลินทรีย์
                กิจกรรมที่ 5.1  การกินอาหารของพารามีเซียม
สาระการเรียนรู้
        การสำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล อภิปรายและสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงานในร่างกายของสัตว์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
                1.  ด้านความรู้   (K)
 -  สืบค้นข้อมูล ทดลอง อภิปราย และสรุปกระบวนการย่อยอาหารของจุลินทรีย์บางชนิด
                2.  ด้านทักษะ/สมรรถนะ  (P)
 -  สามารถใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                3.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  (A)
-   ใฝ่เรียนรู้
-   มุ่งมั่นในการทำงาน
กระบวนการจัดการเรียนรู้
          1.  ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต้องอาศัยพลังงานจาก  การสลายสารอาหาร สารอาหารที่สิ่งมีชีวิตบริโภคเข้าไปจะถูกย่อยให้มีโมเลกุลเล็กลงจนถึงขั้นที่เซลล์นำไปใช้ได้
                2.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
                3.  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน จำนวน 20 ข้อ
            4.  แสดงแผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
                5.  สังเกต สืบค้นข้อมูล อภิปราย อธิบายกระบวนการของเห็ดราและแบคทีเรีย
                6.  วิเคราะห์ เปรียบเทียบ กระบวนการย่อยอาหารของเห็ดรา อะมีบาและพารามีเซียม
          7.  นักเรียนแบ่งกลุ่มคละตามความสามารถเก่ง อ่อน และปานกลาง ปฏิบัติกิจกรรมที่ 5.1 การกินอาหารของพารามีเซียม
                8.  นำความรู้ เรื่อง การย่อยสลายสารอินทรีย์ของจุลินทรีย์มาอธิบายผลที่เกิดขึ้นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และระบบนิเวศ
                9.  เพิ่มเติมความรู้โดยให้นักเรียนดูภาพเคลื่อนไหว เรื่อง การกินอาหาราของพารามีเซียมในซีดีรอม
สื่อการเรียนการสอน
        1.  แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
                2.  ใบงานที่ 5.1 การกินอาหารของพารามีเซียม
                3.  แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน จำนวน 20  ข้อ
                4.  ภาพเคลื่อนไหว เรื่อง การกินอาหาราของพารามีเซียม
กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

สิ่งที่จะวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด

1.  ด้านความรู้
   




2.  ด้านเจตคติ                                


3.  ด้านทักษะกระบวนการ


สังเกตจากการร่วมกิจกรรม การซักถามปัญหาข้อสงสัย ความรู้ความเข้าใจจากการนำเสนอผลงานและการตอบคำถาม ทำแบบฝึกหัดสังเกตพฤติกรรมการ

สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม ทำแบบฝึกหัด สังเกตความสนใจ สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม

สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม สังเกตจากการปฏิบัติงานและทักษะการ



แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ



แบบสังเกตพฤติกรรม


แบบสังเกตพฤติกรรม/แบบสังเกตการปฏิบัติการทดลอง ปฏิบัติกิจกรรม


เกณฑ์การวัด(คะแนน) เกณฑ์การประเมินผล (ผ่าน)
1.  แบบทดสอบ
ตอบถูกให้ 1 ะแนน ตอบผิดให้ 0 คะแนน


ได้คะแนนจากการทดสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

2.  พฤติกรรม
ดีมาก  9 -10 คะแนน ดี  7 - 8 คะแนน
พอใช้  5 - 6 คะแนน ปรับปรุง  0 - 4 คะแนน



ได้คะแนนพฤติกรรมรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70


                            
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น