บทความที่ได้รับความนิยม

16/1/54

นวัตกรรมในท้องถิ่นที่สนใจ

กาละแม
**ยุคนี้พอเอ่ยถึง กาละแม ไม่มีใครที่ไม่รู้จักกันใช่ไหมคะ
แหม! ก็เขาออกจะดังเปรี้ยงปร้างซะขนาดนั้น
กาละแม ดำ ดำ กาละแม เดิ้ง ดี ดึ๋ง ดั๋ง เป็นคำพูดที่กาละแม
เขาชอบพูด ติดปาก แต่ถึงจะดำ กาละแม ก็ยังขายได้ แถมยัง
ขายดิบ ขายดี เหมือนเทน้ำ เทท่า เลยดีเดียว
วันนี้ขนมหวานไทยจึงมีสูตรการทำ กาละแม มาให้คุณได้ลิ้มลอง
รสกันถึงที่บ้านทีเดียว ลองไปหัดทำของ ดำ ดำ แต่รับรองรสชาติ
ไม่ธรรมดาเลย....ดำดี ดีดำ ดำ ด้ำ ด้ำ ดำ...
**ส่วนผสม
1)
แป้งข้าวเหนียว.............................1 กิโลกรัม
2)
น้ำตาลมะพร้าว............................3 กิโลกรัม
3)
มะพร้าวขูดแล้ว............................3 กิโลกรัม
4)
กาบมะพร้าว
5)
กาบต้นตาล
6)
ใบตองอ่อน
7)
ไม้กลัด (ตัดแบบเฉียงๆ ให้ปลายแหลม ยาวประมาณ 1 นิ้ว)
**ขั้นตอนการเตรียม
กาบมะพร้าว และ กาบต้นตาล
......
นำไปเผาไฟ แล้วเอามาโขลกให้ละเอียด
......
ประมาณ ครึ่งถ้วย (เตรียมไว้)
2) ให้คั้นมะพร้าว รอบที่ 2 ให้หมดมัน
.......
โดยใส่น้ำลงไป ทีละน้อยๆ
.......
คั้นให้ได้น้ำกะทิ สัก 13 ถ้วย

3)
ให้คั้นมะพร้าวอีกครั้ง เก็บไว้เป็นหางกะทิ (กะให้พอละลายกับน้ำตาลมะพร้าว 3 กิโลกรัม)
……..
เอามาละลาย กับ น้ำตาลมะพร้าว
.......
แล้วใช้ผ้าขาวบาง กรองกากออก (พักไว้)
**
วิธีการเตรียมใบตอง
.....
ใช้ใบตองอ่อน นำไปอังไฟอ่อน ๆ
.....
แล้วรีดด้วยลูกประคบให้เรียบ
.....
แล้วนำไปเจียน ให้ได้ความกว้าง 2 นิ้ว..............................................ยาว 4 นิ้ว
**วิธีการทำ
1)
ให้คั้นมะพร้าว รอบที่ 1 (โดยไม่ต้องใส่น้ำ)
……..
ให้ได้น้ำกะทิ ประมาณ 1 ถ้วย
.......
แล้วนำไปเคี่ยวให้เกิดมัน (พักไว้)
2) ให้คั้นมะพร้าว รอบที่ 2 ให้หมดมัน
.......
โดยใส่น้ำลงไป ทีละน้อยๆ
.......
คั้นให้ได้น้ำกะทิ สัก 13 ถ้วย

3)
ให้คั้นมะพร้าวอีกครั้ง เก็บไว้เป็นหางกะทิ (กะให้พอละลายกับน้ำตาลมะพร้าว 3 กิโลกรัม)
……..
เอามาละลาย กับ น้ำตาลมะพร้าว
.......
แล้วใช้ผ้าขาวบาง กรองกากออก (พักไว้)
4) ให้เอาแป้งข้าวเหนียว นวดกับ น้ำกะทิ ในข้อ 2)
.......
ค่อย ๆ ใส่น้ำกะทิ

.......
คนจนแป้งละลายไม่เป็นลูก
.......
ให้นำน้ำตาลที่ละลายไว้แล้ว ในข้อ 3) เทผสมลงไป
คนให้เข้ากันดี เสร็จแล้วเทใส่กระทะทองเหลือง
5)
ยกตั้งไฟ (ใช้ไฟค่อนข้างอ่อน) ให้ใช้พาย กวนไปเรื่อย ๆ
.......
พอเดือด และเริ่มแห้ง

.......
ให้เอาน้ำ ผสมกับกาบมะพร้าว และกาบต้นตาลที่เตรียมไว้
ประมาณ ครึ่งถ้วย เทใส่ลงไป
.......ให้กวนต่อไปเรื่อย ๆ จนเหนียว
6) ให้เอาน้ำกะทิ ในข้อ 2) ค่อย ๆ เทใส่ลงไปทีละน้อย ทีละน้อย
.......
แล้วกวนไปเรื่อย ๆ
จนหมดน้ำกะทิ และพายไม่ติดขนมให้ยกลงได้ 
......แล้วทิ้งไว้ให้อุ่น
7)
ให้นำขนม ไปห่อด้วยใบตองที่เตรียมไว้
.......
กลัดด้วยไม้กลัด
**การห่อให้ห่อแบบสวมธรรมดา
**เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ สำหรับขนมกาละแม ที่คุณตั้งใจทำ
เป็นยังไงบ้าง ดำสมชื่อใช่ไหมคะ ถ้าอย่างงั้น เรามาลองชิมฝีมือไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ..อ้ำ อ้ำ
อร่อยจังเลย...


 

15/1/54

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์
               เครื่องคอมพิวเตอร์นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสลับซับซ้อน ( Conplexity ) น่าอัศจรรย์ที่มีความสามารถยิ่ง ซึ่งนับวันจะสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับอดีต คอมพิวเตอร์นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประวัติศาสตร์อันน่าศึกษา เริ่มจากเดิมมนุษย์ดำเนินชีวิตโดยไม่มีการบันทึก จนกระทั่งการพาณิชย์มีการพัฒนาขึ้น พ่อค้าชาวแบบีลอน (Babylonian) ได้มีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบน clay tablets สำหรับการคำนวณ อุปกรณ์คำนวณในยุคแรกได้แก่ ลูกคิด ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Blaise Pascal ได้สร้างเครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline ในปี พ.ศ. 2215 Gottfried Von Leibniz นักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันได้พัฒนาpascaline โดยสร้างเครื่องที่สามารถ บวก ลบ คูณ หาร และถอดรากได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่ามีความแม่นยำขนาดไหน ต่อมาในปี พ.ศ. 2336 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Chales Babbage ได้สร้างดิฟเฟอเรนซ์แอนจิน difference engine ที่มีฟังก์ชันทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ และคิดว่าจะสร้างแอนะลีติคอลเอนจิน (analytical engine ) ที่มีหลักคล้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน จึงมีผู้ยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์และเป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2439 Herman Hollerith ได้คิดบัตรเจาะรูและเครื่องอ่านบัตร จนกระทั่วในปี พ.ศ. 2480 Howard Aiken สร้าง  automatic calculating machine เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้งทาง electrical และ mechanical เข้ากับบัตรเจาะรูของ Hollerith ด้วยความช่วยเหลือของนักศึกษาปริญญาและวิศวกรรมของ IBM สำเร็จในปี พ.ศ. 2487 โดยใช้ชื่อว่า MARK I การทำงานภายในตัวเครื่องถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติด้วย electromagnetic relays และ arthmetic counters ซึ่งเป็น mechanical ดังนั้น MARK I จึงนับเป็น electromechanical computers และต่อมา Dr. John Vincent Atanasoff และ Clifford Berry ได้สร้างเครื่อง ABC ( Atanasoft-Berry Computer ) โดยใช้หลอดสูญญากาศ ( vacuum tubes) และในปี พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr. พัฒนาเพิ่มเติมบนหลักการออกแบบพื้นฐานของ Dr. Atanasoff เพื่อสร้าง electronic computer เครื่องแรกชื่อ ENIAC แต่ยังไม่เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดเก็บโปรแกรมได้ ( stored program ) จึงได้รับการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVAC ซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSAC และพัฒนาเป็นเครื่อง UNIVAC ( Universal Automatic Computer ) ในที่สุด ถ้าจะจำแนกยุคของคอมพิวเตอร์ ( Computer generations ) โดยแบ่งตามเทคโนโลยีของตัวเครื่องกับเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแล้วก็จะพอจะพิจารณาได้คือ
 1.             ยุคแรก ใช้เทคโนโลยีของหลอดสูญญากาศ เป็นแบบบัตรเจาะรู
2.             ยุคที่สอง ใช้เทคโนโลยีของทรานซิสเตอร์เป็นแบบเทป ลักษณะเป็นกรรมวิธีตามลำดับ ( Sequential Processing )  
3.         ยุคที่สาม ใช้เทคโนโลยีของไอซี (integrated circuit, IC) เป็นแบบจานแม่เหล็กลักษณะ
                          เป็นการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน ( Multiprogramming ) และออนไลน์ ( on-line)
4.             ยุคที่สี่ ใช้เทคโนโลยีของวงจรรวมขนาดใหญ่ ( Large-scale integration,LSI ) ของวรจรไฟฟ้า ผลงานจากเทคโนโลยีนี้คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ ( microprocessor ) กล่าวได้ว่า "Computer on a chip" ในยุคนี้ จากอดีตถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้พัฒนามาอย่างรวดเร็วทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวได้ว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมีการเคลื่อนไหวเสมอ ( dynamics) และไม่ค่อยยืดหยุ่น ( rigid ) มากนัก เช่น ถ้ามีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย บางครั้งอาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมหาศาลได้ นอกจากนี้ยังนับได้ว่าเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หรือสามารถจัดการได้น้อย กล่าวคือ ทันทีที่ทำงานด้วยโปรแกรม เครื่องก็ปฏิบัติงานไปตามโปรแกรมด้วยตนเอง ขณะนั้นมนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้